.

 | 

ภาพมุมกล้อง


ภาพมุมกล้อง

สร้างสื่อการสอนโดยโปรเเกรมCamtasia


สร้างสื่อการสอนโดยโปรเเกรมCamtasia

ตัวอย่างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน


ตัวอย่างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

ตัวอย่างการสร้างสื่อการสอนด้วยโปรเเกรมMacromedia Authorware


ตัวอย่างการสร้างสื่อการสอนด้วยโปรเเกรมMacromedia Authorware


Macromedia Authorware เป็นโปรแกรมสำหรับการสร้างบทเรียน เพื่อช่วยในการเรียนการสอน การผึกอบรมและการนำเสนอข้อมูล การทำงานของโปรแกรมจะมีลักษณะการทำงานแบบแผนผัง โดยผู้สร้างจะกำหนดขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม ด้วยการลากไอคอนมาวางและกำหนดค่าให้ทำงานตามต้องการ ไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรม ไม่ต้องมีพื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์มากมายนัก ก็สามารถสร้างโปรแกรมได้ไม่ยาก ความสามารถของโปรแกรมนั้น มีความยืดหยุ่นในการทำงานอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการนำเอา ไฟล์เสียง ไฟล์วีดีโอ ไฟล์ flash animation เข้ามาประกอบการเรียน เพื่อส่งเสริมให้บทเรียนมีความน่าสนใจและ เข้าใจได้ง่ายขึ้น อีกทั้งโปรแกรมยังมีขั้นตอนการทำงาน ไม่ยุ่งยากอีกด้วยทำให้สะดวกต่อผู้ใช้และผู้เรียนอีกด้วย

วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

LMS หรือLearning Management System หรือระบบการจัดการเรียนรู้ เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ จะประกอบด้วยเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สอน ผู้เรียน ผู้ดูแลระบบ โดยที่ผู้สอนนำเนื้อหาและสื่อการสอนขึ้นเว็บไซต์รายวิชาตามที่ได้ขอให้ระบบ จัดไว้ให้ได้โดยสะดวก ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหา กิจกรรมต่าง ๆ ได้โดยผ่านเว็บ ผู้สอนและผู้เรียนติดต่อ สื่อสารได้ผ่านทางเครื่องมือการสื่อสารที่ระบบจัดไว้ให้ เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ห้องสนทนา กระดานถาม - ตอบ เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วยังมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การเก็บบันทึกข้อมูล กิจกรรมการเรียนของผู้เรียนไว้บนระบบเพื่อผู้สอนสามารถนำไปวิเคราะห์ ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอนในรายวิชานั้นอย่างมีประสิทธิภาพ

องค์ประกอบของ LMS
1.ระบบการจัดการเกี่ยวกับการบริหารการเรียน เช่น การสร้างและการจัดการรายวิชา การลงทะเบียนกำหนดสิทธิต่างๆ ของผู้สอนและผู้เรียน LMS บางระบบสามารถให้ผู้เรียนลงทะเบียนผ่านระบบได้เลย
2. ระบบการจัดการเนื้อหา หรือ CMS (Content Management System) เป็นระบบที่สนับสนุนในการสร้างเนื้อหาโดยมีเครื่องมือต่างๆ ในการสนับสนุนการสร้างเนื้อหา นอกจากการสร้างแล้วยังสามารถนำเนื้อหาที่สร้างมาจากโปรแกรมตัวอื่นมาใช้งานได้ เช่น Macromedia Dreamweaver, Macromedia Flash, Microsoft FrontPage เป็นต้น
3. ระบบการติดตามการเรียนการสอน การเรียนการสอนแบบ e-Learning ผู้เรียนต้องเข้าชั้นเรียนในระบบดังนั้นตัวระบบจะต้องมีการติดตามความคืบหน้าในการเรียน เช่นการบันทึกเวลาการเข้าระบบอย่างละเอียด การส่งงานผ่านระบบ ตลอดจนการให้คะแนนและให้เกรด ระบบการติดต่อสื่อสาร ระบบนี้สามารถเปิดให้ผู้สอนและผู้เรียนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ภายในระบบ เช่น การติดต่อด้วยเมล์ภายใน การใช้เว็บบอร์ดในการตอบกระทู้ต่างๆ หรือการใช้แชทรูม นอกจากนั้น LMS บางโปรแกรมยังสนับสนุนการติดต่อเมล์ภายนอกอีก

LMS ประกอบด้วย 5 ส่วนดังนี้
1. ระบบจัดการหลักสูตร (Course Management) กลุ่มผู้ใช้งานแบ่งเป็น 3 ระดับคือ ผู้เรียน ผู้สอน และผู้บริหารระบบ โดยสามารถเข้าสู่ระบบจากที่ไหน เวลาใดก็ได้ โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ระบบสามารถรองรับจำนวน user และจำนวนบทเรียนได้ ไม่จำกัด โดยขึ้นอยู่กับhardware/software ที่ใช้ และระบบสามารถรองรับการใช้งานภาษาไทยอย่างเต็มรูปแบบ
2. ระบบการสร้างบทเรียน (Content Management)ระบบประกอบด้วยเครื่องมือในการช่วยสร้าง Content ระบบสามารถใช้งานได้ดีทั้งกับบทเรียนในรูป Text - based และบทเรียนในรูปแบบ Streaming Media
3. ระบบการทดสอบและประเมินผล (Test and Evaluation System)มีระบบคลังข้อสอบ โดยเป็นระบบการสุ่มข้อสอบสามารถจับเวลาการทำข้อสอบและการตรวจข้อสอบอัตโนมัติ พร้อมเฉลยรายงานสถิติ คะแนน และสถิติการเข้าเรียนของนักเรียน
4. ระบบส่งเสริมการเรียน (Course Tools)ประกอบด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้สื่อสารระหว่างผู้เรียน - ผู้สอน และ ผู้เรียน - ผู้เรียน ได้แก่ Webboard และ Chatroom โดยสามารถเก็บ History ของข้อมูลเหล่านี้ได้
5. ระบบจัดการข้อมูล (Data Management System)ประกอบด้วยระบบจัดการไฟล์และโฟลเดอร์ ผู้สอนมีเนื้อที่เก็บข้อมูลบทเรียนเป็นของตนเอง โดยได้เนื้อที่ตามที่ Admin กำหนดให้Open Source LMS
ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์ LMS ที่ได้พัฒนาขึ้นในเชิงพาณิชย์นั้นมีอยู่มากมาย ระบบที่มีชื่อติดตลาดจนเป็นที่รู้จักกันมากที่สุด ได้แก่ Blackboard และ WebCT เป็นต้น นอกจากนั้น LMS ที่พัฒนาโดยสถาบันการศึกษาและองค์กรต่าง ๆ ก็มีจำนวนอีกไม่น้อย บางระบบก็ได้พัฒนาเพื่อใช้เฉพาะในสถาบันของตน บางระบบได้จัดทำในรูปแบบที่เรียกว่า open source นั่นคือ เป็นระบบที่พัฒนาและเผยแพร่ให้ผู้อื่นนำไปใช้งานได้ โดยมีการเปิดเผย source code ของโปรแกรม
เก็บตกหนังสั้น หนุ่มนาข้าว สาวชาวดอย
1.อันดับแรกเลยคือเราได้ทำงานเป็นทีมและสิ่งที่ภูมิใจมากไปกว่านั้นคือ ทีมของเราสมาชิกน้อยกว่ากลุ่มอื่นแต่เราก็สามารถสร้างงานของเราออกมาจนประสบความสำเร็จ
2.ได้รู้จักการวางแผน การแบ่งงานกันตามหน้าที่และทำให้เราสามารถมองเห็นแววว่าเพื่อนๆเหมาะสมกับงานแบบไหนทำให้เราสามารถรู้หน้าที่ของเราอย่างชัดเจนและร่วมกันทำงานออกมาจนสำเร็จ
3.เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์การระดมความคิดการวางแผนงานของทีมเราและเราก็ได้ตกลงกันจะทำหนังสั้น เรื่อง หนุ่มนาข้าว สาวชาวดอย นี้คือสิ่งที่เราตกลงกันในอันดับแรก
4.ทำให้เรามีความสามัคคีกัน มีการช่วยเหลือกันในทีมของเรา ร่วมกันแก้ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงานแต่เราก็สามารถฝ่าฟันมันไปได้ด้วยความร่วมมือของทุกคนในทีมเรา
5.จากการสร้างหนังสั้นของกลุ่มเราทำให้เราได้เรียนรู้วิถีชีวิตของชาวบ้านในแถบชนบท ได้เห็นถึงความมีน้ำใจของชาวบ้านที่มาดูเราถ่ายทำและมีน้ำใจเอาขนมบ้าง ส้มตำบ้าง มาดูแลเรา เป็นสิ่งที่หาได้จากกองถ่ายและจากน้ำใจของคนบ้านนอก
6.และที่สำคัญจากการสร้างหนังสั้นของทีเราคือหนังของเราอาจมีข้อผิดพลาดมากมาย เจอคอมเม้นแรงๆจากรุ่นพี่บ้าง อาจารย์บ้าง รุ่นพี่บ้าง ทำให้เราน่าจ๋อยไปเลยทีเดียว แต่พวกเราก็ไม่เสียใจเลยเพราะ หนุ่มนาข้าว สาวชาวดอยของเราเรื่องนี้เราทำออกมาด้วยใจจริงๆและภูมิใจมากที่ทีมน้อยๆของเราเพียง4คนสามารถทำออกมาได้ขนาดนี้นี้คือสิ่งที่มีค่าที่สุดแล้ว